น้ำมันที่รั่วไหลสู่แหล่งน้ำจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพ ทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เริ่มจากน้ำมันบางส่วนระเหยไป น้ำมันที่เหลือจะเปลี่ยนสภาพไปตามคุณสมบัติเฉพาะของชนิดน้ำมันนั้นๆ และปัจจัยต่างๆ เช่น แสงแดด กระแสน้ำ อุณหภูมิ ฯลฯ
คราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำต่างๆ เปลี่ยนแปลงสภาวะการย่อยสลายของแบคทีเรียในน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น (ปลา สัตว์หน้าดิน ปะการัง ฯลฯ) รวมถึงนกน้ำด้วย เกิดการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหารที่เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิต (แพลงก์ตอนพืช) ผู้บริโภคขั้นต้น (แพลงก์ตอนสัตว์/ปลา) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายซึ่งก็คือมนุษย์
คราบน้ำมันยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประมงและการเพาะลี้ยงชายฝั่ง เช่น สัตว์น้ำตายจากคราบน้ำมัน ขาดออกซิเจน ชายหาดสกปรกจากคราบน้ำมัน ทำลายทัศนียภาพ มีกลิ่นเหม็น ไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวและพักผ่อน ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศ
ความรุนแรงของผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งชนิดของน้ำมัน ปริมาณที่รั่วไหล สภาพภูมิศาสตร์ของบริเวณที่เกิดรั่วไหล กระแสน้ำ กระแสลม การขึ้น-ลงของน้ำทะเล ตลอดจนความหลากหลายและความสมบูรณ์ของทรัพยากรรอบๆบริเวณนั้น
การเกิดน้ำมันรั่วไหลในทะเลไทย
กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2553 เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลที่ได้ดำเนินการตรวจสอบและจัดการแก้ไขร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 124 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่เป็นการรั่วไหลในปริมาณเล็กน้อย สาเหตุของการรั่วไหลที่พบมากที่สุดคือ
1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินเรือ เก็บกัก หรือสูบถ่ายน้ำมันชำรุด
2. รั่วไหลระหว่างการสูบถ่ายน้ำมันกลางทะเลจากเรือขนาดใหญ่ลงสู่เรือขนาดเล็ก หรือระหว่างเรือกับท่าเทียบเรือ
3. การลักลอบทิ้ง เช่น ปล่อยทิ้งน้ำมันชนิดเดิมก่อนบรรทุกน้ำมันชนิดใหม่ หรือลักลอบถ่ายน้ำอับเฉา
4. เรืออับปาง เนื่องจากเรือโดนกัน ชนหินโสโครก/หินฉลาม หรือไฟไหม้
5. สาเหตุอื่นๆ เช่น รั่วไหลจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเล น้ำทิ้งจากฝั่ง หรือรั่วไหลตามธรรมชาติ
แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ จำแนกปริมาณน้ำมันรั่วไหลเป็น 3 ระดับ (Tier) ได้แก่
1. ระดับที่ 1 (Tier I) ปริมาณรั่วไหลไม่เกิน 20 ตันลิตร ส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างขนถ่ายน้ำมัน ผู้ที่ทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการขจัดคราบน้ำมัน และ/หรือได้รับความช่วยเหลือจาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยต้องแจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบก่อน
2. ระดับที่ 2 (Tier II) รั่วไหลมากกว่า 20 - 1,000 ตันลิตร อาจเกิดจากเรือโดนกัน การขจัดคราบน้ำมันต้องร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ และต้องแจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบก่อน หากเกินขีดความสามารถของทรัพยากรที่มี อาจต้องขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ
3. ระดับที่ 3 (Tier III) ปริมาณรั่วไหลมากกว่า 1,000 ตันลิตร อาจเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง การขจัดคราบน้ำมันในระดับนี้ต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆในประเทศ และต้องอาศัยความช่วยเหลือระดับนานาชาติ
จากสถิติกรมเจ้าท่า ระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2553 พบการรั่วไหลของน้ำมันในปริมาณมาก (20,000 ลิตรขึ้นไป) ทั้งสิ้น 9 ครั้ง พบเกิดในทะเลและชายฝั่งท่าเทียบเรือ ส่วนมากพบการรั่วไหลบริเวณท่าเทียบเรือจากอุบัติเหตุระหว่างการขนถ่ายน้ำมัน และจากอุบัติเหตุต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สถิติเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลปริมาณมาก ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2553
ลำดับ
|
วัน เดือน ปี
|
ชนิดน้ำมัน
|
สถานที่เกิด
|
สาเหตุ
|
ปริมาณ
|
1
|
22 พฤษภาคม 2544
|
น้ำมันดิบ
|
ท่อขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ว จำกัด ท่าเรือมาบตาพุด ระยอง
|
Brakeaway Coupling ขนาด 16 นิ้ว ที่กำลังขนถ่ายจากเรือ Tokachi หลุดออกจากกันทำให้น้ำมันรั่วไหล
|
30 ตัน
|
2
|
15 มกราคม 2545
|
น้ำมันเตา
|
หินฉลาม เกาะจวง นอกฝั่งอำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
|
เรือ Eastern Fortitude สัญชาติปานามา ชนหินฉลาม
|
234 ตัน
|
3
|
17 ธันวาคม 2545
|
น้ำมันเตา
|
ทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ด้านใต้ของเกาะสีชัง ชลบุรี
|
เรือ Kota Wijaya โดนกับเรือ Sky Ace ทำให้มีน้ำมันเตารั่วไหลลงทะเล
|
210 ตัน
|
4
|
20 พฤศจิกายน 2548
|
น้ำมันดิบ
|
บริเวณทุ่นผูกเรือ SBM ของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อ.ศรีราชา ชลบุรี
|
ท่อเชื่อมต่อหลุดขณะส่งถ่ายน้ำมัน เนื่องจากคลื่นลมแรง
|
20 ตัน
|
5
|
4 พฤษภาคม 2549
|
น้ำมันเตา
|
บริเวณหน้าท่าเทียบเรือ บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด อ.มาบตาพุด ระยอง
|
รั่วไหลจากรอยรั่วที่ระวางหมายเลข 2 ของเรือบรรทุกน้ำมัน CP 34
|
20 ตัน
|
6
|
6 ตุลาคม 2550
|
Saraline 185V
|
บริเวณแท่น Trident-16 (Offshore Mobile Drilling Unit) ของบริษัท Chevron
Thailand |
รั่วไหลจาก Storage Tank
|
220 บาร์เรล
|
7
|
9 ธันวาคม 2550
|
น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา
|
ในทะเลห่างชายฝั่ง อ.สทิงพระ จ.สงขลา ประมาณ 6 ไมล์ทะเล
|
เรือบรรทุกแก๊สของบริษัท เวิร์ลไวด์ทรานสปอร์ต จำกัด อับปาง
|
ประมาณ 20,000 ลิตร
|
8
|
15 มิถุนายน 2551
|
น้ำมันเตา
|
บริเวณอู่เรือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
|
รั่วไหลจากเรือสินค้า Chol Han Vong Chong Nyon Ho สัญชาติเกาหลีเหนือ
|
คาดว่าไม่น้อยกว่า 40,000 ลิตร
|
9
|
4 กันยายน 2554
|
ดีเซล (B5)
|
ห่างจากเกาะราชาใหญ่ ทางด้านตะวันออก ประมาณ 4 ไมล์ทะเล จ.ภูเก็ต
|
เรือบรรทุกน้ำมันชื่อ ส.โชคถาวร 6 จม เนื่องจากสภาพภูมิกาศเลวร้ายและมีคลื่นลมแรง
|
ประมาณ 40,000 ลิตร
|
ที่มา : รวบรวมจาก กรมเจ้าท่า. สถิติน้ำมันรั่วไหล (Oil spill)
เขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหลในน่านน้ำไทย
ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ได้จำแนกเขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหลในน่านน้ำทะเลไทย ตามระดับความเสี่ยงและความรุนแรงต่อการได้รับผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล ออกเป็น 4 เขต ดังนี้
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ |
เขตที่ 1 มีความเสี่ยงสูงมาก
ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม มีกิจกรรมการขนถ่ายน้ำมันบริเวณท่าเทียบเรือและกลางทะเล มีการจราจรทางน้ำหนาแน่น
เขตที่ 2 มีความเสียงสูง
ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงท่าเรือคลองเตย เป็นเส้นทางหลักของเรือบรรทุกน้ำมัน เรือสินค้า และเรือโดยสาร อีกทั้งเป็นที่ตั้งคลังน้ำมันหลายแห่งริมฝั่งแม่น้ำ
เขตที่ 3 มีความเสี่ยงสูงปานกลาง
ฝั่งทะเลอ่าวไทย ได้แก่ อ่าวไทยด้านตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง และสงขลา และฝั่งทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล น้ำมันรั่วไหลอาจเกิดจากเรือบรรทุกน้ำมันที่เดินทางเข้าออกช่องแคบมะละกา การขนถ่ายน้ำมัน ท่าเรือน้ำลึก และท่าเรือโดยสาร ฯลฯ
เขตที่ 4 มีความเสี่ยงต่ำ
ได้แก่ พื้นที่บริเวณฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันนอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน 3 เขตข้างต้น
ตารางที่ 2 ระดับความเสี่ยงของพื้นที่ 21 จังหวัดชายฝั่งทะเล ต่อผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล (สังเคราะห์จากแผนที่เขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหล)
ระดับความเสี่ยง
|
พื้นที่
|
ตัวแปรที่ใช้พิจารณา a
| |||
1
|
2
|
3
|
4
| ||
สูงมาก
|
ชลบุรี
|
สูง
|
ทุกปี
|
สูง
|
สูง
|
ระยอง
|
สูง
|
1 ครั้ง / 2-5 ปี
|
ปานกลาง
|
สูง
| |
ฉะเชิงเทรา
|
สูง
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
ปานกลาง
|
สูง
| |
สูง
|
กรุงเทพ b
|
สูง
|
ทุกปี
|
ต่ำ
|
สูง
|
สมุทรปราการ
|
สูง
|
1 ครั้ง / 2-5 ปี
|
ต่ำ
|
สูง
| |
ปานกลาง
|
สงขลา
|
ปานกลาง
|
ทุกปี
|
ปานกลาง
|
ต่ำ
|
นครศรีธรรมราช
|
ไม่มีข้อมูล
|
ทุกปี
|
ปานกลาง
|
ต่ำ
| |
สุราษฎร์ธานี
|
ไม่มีข้อมูล
|
ทุกปี
|
ปานกลาง
|
ต่ำ
| |
ชุมพร
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
ปานกลาง
|
ต่ำ
| |
ประจวบคีรีขันธ์
|
ปานกลาง
|
1 ครั้ง / 2-5 ปี
|
ปานกลาง
|
ต่ำ
| |
ระนอง
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
สูง
|
ต่ำ
| |
พังงา
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
สูง
|
ต่ำ
| |
ภูเก็ต
|
ปานกลาง
|
1 ครั้ง / 2-5 ปี
|
สูง
|
ต่ำ
| |
กระบี่
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / 2- 5 ปี
|
สูง
|
ต่ำ
| |
ตรัง
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
สูง
|
ต่ำ
| |
สตูล
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / 2-5 ปี
|
สูง
|
ต่ำ
| |
ต่ำ
|
ตราด
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
ปานกลาง
|
ต่ำ
|
จันทบุรี
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
ปานกลาง
|
ต่ำ
| |
เพชรบุรี
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
ต่ำ
|
ต่ำ
| |
ปัตตานี
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
ต่ำ
|
ต่ำ
| |
นราธิวาส
|
ไม่มีข้อมูล
|
1 ครั้ง / ≥ 5 ปี
|
ต่ำ
|
ต่ำ
|
a 1. แนวโน้มการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันเข้าในพื้นที่ชายฝั่ง กรณีมีน้ำมันรั่วไหลลงทะเล ได้จากการคาดการณ์ด้วยแบบจำลอง | |||||
2. ความถี่ของพื้นที่เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหล ระหว่างปี พ.ศ. 2516 – ปัจจุบัน
| |||||
3. สภาพการดำรงอยู่และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งที่สำคัญ (ป่าชายเลน แนวปะการัง หญ้าทะเล นกทะเล เต่าทะเล พะยูน โลมา ปลาต่างๆ เป็นต้น) และลักษณะทางกายภาพจากแผนที่ดัชนีความอ่อนไหวของทรัพยากรต่อมลพิษจากน้ำมัน
| |||||
4. เส้นทางจราจรทางน้ำ เส้นทางการขนถ่ายน้ำมันและกิจกรรมทางน้ำอื่นๆ
| |||||
b บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา
|
ที่มา กรมควบคุมมลพิษ. 2554
โดยรวมแล้วพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำมันรั่วไหลสัมพันธ์กับกิจกรรมทางทะเลในบริเวณนั้นๆ ได้แก่ ท่าเทียบเรือ จำนวนเรือ ชนิดและประเภทของเรือ แหล่งหรือเขตอุตสาหกรรม เส้นทางการสัญจรทางน้ำ และกิจกรรมการขนส่งหรือขนถ่ายสินค้าในทะเล
3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รวมถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเทียบเรือจำนวนมาก มีปริมาณการสัญจรทางน้ำ โดยเฉพาะเรือบรรทุกน้ำมันมาก ปัจจัยดังกล่าวทำให้มีความเสี่ยงการเกิดน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล สูงกว่าในบริเวณจังหวัดชายทะเลอื่น ดังตารางที่ 2
บริเวณแหล่งท่องเที่ยวและชุมชม มีความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหลลงทะเลลดหลั่นลงไป จากกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล ดำน้ำ เรือสำราญ หรือกิจกรรมการประมงชายฝั่งที่ต้องออกเรือไปทำการประมง และน้ำทิ้งจากบ้านเรือนริมชายฝั่งทะเลที่มีน้ำมันปนเปื้อนอยู่ ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งรั่วไหลของน้ำมันลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น